มสรูรมนเทียร

พิกัด: 32°04′21.2″N 76°08′13.5″E / 32.072556°N 76.137083°E / 32.072556; 76.137083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Masrur Temples)
หมู่มสรูรมนเทียร
Rock cut Hindu temples of Masrur
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอกังครา
เทพพระศิวะ, พระวิษณุ, เทวี, ฯลฯ
ที่ตั้ง
รัฐหิมาจัลประเทศ
ประเทศอินเดีย
มสรูรมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มสรูรมนเทียร
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
มสรูรมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐหิมาจัลประเทศ
มสรูรมนเทียร
มสรูรมนเทียร (รัฐหิมาจัลประเทศ)
พิกัดภูมิศาสตร์32°04′21.2″N 76°08′13.5″E / 32.072556°N 76.137083°E / 32.072556; 76.137083
สถาปัตยกรรม
รูปแบบนคร
เสร็จสมบูรณ์8th-century[1]

หมู่มนเทียรมสรูร (อักษรโรมัน: Masrur หรือ Masroor) เป็นโบสถ์พราหมณ์ตัดสินอายุศตวรรษที่ 8 ตั้งอยู่ในหุบเขากังครา ในรัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย[2] หันหน้าออกตะวันออกเฉียงเหนือ[1] สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบนคร ถึงแม้หมู่มนเทียรที่หลงเหลือในปัจจุบันจะมีขนาดใหญ่โต แต่การค้นคว้าทางโบราณคดีเสนอว่าศิลปินและสถาปนิกในอดีตมีแผนที่ใหญ่กว่านี้มากในการจะสร้างหมู่มนเทียรนี้ และหมู่มนเทียรที่เห็นในปัจจุบันยังสร้างไม่เสร็จตามแผน งานแกะสลักและประติมากรรมส่วนใหญ่ของมนเทียรในปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว รวมถึงหมู่มนเทียรยังมีร่องรอยความเสียหายที่อาจจะมาจากเหตุแผ่นดินไหว[1]

มนเทียรสร้างขึ้นโดยการแกะสลักหินใหญ่ก้อนเดียวเป็นศิขร และตรงกลางมีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามคัมภีร์การสร้างมนเทียร[1] มนเทียรมีทางเข้าสามทางทางตะวันออกเฉียงเหรือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ ในจกนวนนี้มีเพีนงจุดเดียวที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ หลักฐานที่พบยังเสนอว่ามีการจะก่อสร้างทางเข้าออกที่สี่ ซึ่งสร้างไม่เสร็จ[1] หมู่มนเทียรสร้างขึ้นตามแผนกริดสี่เหลี่ยมจัตุรัส (square grid) โดยมีมนเทียรหลักล้อมรอบด้วยมนเทียรหลังเล็ก ๆ ตามแบบแผนแบบมณฑล ครรภคฤห์ของมนเทียรหลักสร้างตามแปลนแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่นเดียวกับศาลย่อย ๆ และส่วนมณฑป มนเทียรยังประดับด้วยงานแกะสลักและประติมากรรมแสดงภาพของเทพเจ้าและเนื้อหาจากปุราณะในศาสนาฮินดู[1][2]

มีรายงานการค้นพบมนเทียรครั้งแรกโดย Henry Shuttleworth ในปี 1913 ที่ซึ่งนำไปสู่ความสนใจโดยบรรดานักโบราณคดี[3] Harold Hargreaves จากกรมสำรวจโบราณคดีได้ทำการสำรวจหมู่มนเทียรด้วยตนเองในปี 1915 ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดีน Michael Meister ระบุว่ามสรูรมนเทียรสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบ "ภูเขา" ซึ่งแทนภาพของโกที่มีภูเขาล้อมรอบ[1]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Michael W. Meister (2006), Mountain Temples and Temple-Mountains: Masrur, Journal of the Society of Architectural Historians, Vol. 65, No. 1 (Mar., 2006), University of California Press, pp. 26- 49
  2. 2.0 2.1 Laxman S. Thakur (1996). The Architectural Heritage of Himachal Pradesh: Origin and Development of Temple Styles. Munshiram Manoharlal. pp. 27, 39–43. ISBN 978-81-215-0712-7.
  3. Mulk Raj Anand 1997, pp. 16–17, 22

บรรณานุกรม[แก้]